บทความจาก อาจารย์ป๋อง คำอาจ
การวางแผนการเรียนประจำวัน มีจุดประสงค์เพื่อสร้างกรอบการเรียนรู้ตามสาระหรือความรู้ที่เราต้องการศึกษา ให้สอดคล้องกับห้วงเวลาที่เหมาะสมกับกิจกรรม
ประจำวันของนักเรียนแต่ละคนการวางแผนการเรียนประจำวันนั้นเราจึงต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับเวลาให้เหมาะสมและเอื้อกับตนเองมากที่สุด
ขั้นตอนการวางแผนการเรียนรู้ประจำวันจึงมีลำดับขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นวางแผนการเรียน
1. สร้างเป้าหมายหรืออาชีพที่นักเรียนต้องการจะเป็นในอนาคต โดยเรียงลำดับความต้องการจากมากไปหาน้อย เช่น
อันดับ1 อาชีพรับราชการทหาร-ตำรวจ
อันดับ 2 อาชีพในรัฐวิสาหกิจ เช่นไฟฟ้า ประปา เป็นต้น
อันดับ 3 อาชีพข้าราชการ ก.พ.
อันดับ 4 อาชีพครู-อาจารย์
อันดับ 5 ทำธุรกิจส่วนตัว
2. อาชีพอะไรที่เรามีโอกาสในการแข่งขันก่อน อาชีพที่นักเรียนจะต้องสอบแข่งขันก่อน เช่นสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร สอบเข้าพระนครเหนือ
สอบเข้าโรงเรียนด้านไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรับนักเรียนระดับ ม.3 เป็นต้น
3. อ่านสาระการเรียนรู้จากเอกสารคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับม.1-3 หรือจากโรงเรียนของนักเรียนเอง ประเด็นที่ต้องรู้ได้แก่
วิชาวิทยาศาสตร์ ม.1-3 ต้องเรียนอะไรบ้าง
วิชาวคณิตศาสตร์ ม.1-3 ต้องเรียนอะไรบ้าง
วิชาภาษาไทย ม.1-3 ต้องเรียนอะไรบ้าง
วิชาสังคมศึกษา ม.1-3 ต้องเรียนอะไรบ้าง
วิชาภาษาอังกฤษ ม.1-3 ต้องเรียนอะไรบ้าง
4. อ่านสาระการเรียนรู้ที่ต้องใช้ในการสอบแข่งขันในที่ที่นักเรียนต้องการจะสอบเข้า เช่น การสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารมีวิชาอะไรบ้าง หัวข้ออะไรบ้างที่ออกสอบ
5. นำสาระการเรียนรู้จากคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับ ม.1-3 และสาระที่ใช้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารมารวมกัน
6. กำหนดเวลาที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองจากการอ่านและค้นคว้านอกเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์
7. กำหนดหัวข้อที่นักเรียนจะต้องอ่านโดยให้น้ำหนักจากการใช้เวลามากสู่การใช้เวลาน้อย ได้แก่ คณิตศาสตร์(ใช้40%) วิทยาศาสตร์(ใช้เวลา30%)
ภาษาอังกฤษ(ใช้เวลา 15%) สังคม(ใช้เวลา7.5%) และภาษาไทย(ใช้เวลา7.5%)
8. กำหนดเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเองใน 1 สัปดาห์
9. กำหนดหัวข้อและสาระการอ่านในตารางเวลาการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
10. จัดเตรียมเอกสารการเรียนรู้ที่จะอ่าน จากคู่มือทั่วไป จากห้องสมุดโรงเรียน จากกวดวิชา จากInternet เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรจัดสถานที่หรือห้องนอนของ
นักเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้มีโต๊ะเก้าอี้ กระดาษเขียน สมุดโน้ต เป็นต้น
ลงมือปฏิบัติ
1. นักเรียนลงมือศึกษาด้วยตนเองตามตารางเวลาที่กำหนด ต้องอ่านและศึกษาด้วยตนเองในแต่ละวิชา ไม่ใช่ศึกษาวันเดียวแล้วจะรู้เรื่องหมด บางครั้งการอ่านตามแผนช่วงแรกๆ
อาจจะไม่ได้อะไรเลยเพราะเป็นช่วงปรับตัว
2. ในสัปดาห์แรกที่เราลองอ่านตามแผนการเรียน เราอาจจะได้ความรู้ครบทุกวิชา หรืออาจจะยังไม่เข้าใจทุกหัวข้อ ให้นักเรียนแยกประเด็นออกมา เพื่อเสาะแสวงหาความรู้โดยการถาม
ผู้รู้ เพื่อทุ่นเวลา ทั้งนี้นักเรียนควรจะทบทวนในรอบที่ 2 รอบที่ 3 รอบที่ 4 จนเข้าใจ
3. ถ้าเป็นไปได้ นักเรียนควรเก็บข้อมูลการอ่านของตนเองหรือการปฏิบัติตามแผนนั้น ว่าเรามีจุดอ่อนอะไรบ้าง อะไรที่ทำได้ไม่ดี อะไรที่ทำแล้วต้องฝืนใจ เพื่อจะได้นำประเด็นเหล่านี้ไป
ปรึกษาพ่อแม่ ครู หรือผู้รู้ เพื่อนำไปสู้การแก้ปัญหาเรื่องเรียน
ตรวจสอบความรู้ตนเองอย่างสม่ำเสมอ
หลังจากที่เราลงมืออ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดตามตารางที่เราวางไว้แล้ว อีกการปฏิบัติหนึ่งทีนักเรียนจะต้องหมั่นทำ คือ การตรวจสอบความรู้ตนเอง ซึ่งมีหลากหลายแนวทางด้วยกันดังนี้
1. การวัดความรู้ในชั้นเรียน เป็นการเรียนที่ตอบสนองแนวทางของโรงเรียนที่นักเรียนเรียนอยู่ ดูที่ผลการทดสอบ หรือเกรดของนักเรียน
2. การวัดความรู้โดยการทดสอบ/แข่งขัน จากสำนักต่างๆที่จัดสอบเพื่อวัดความรู้ เช่น NT,O-NET, หน่วยงานเอกชน เช่นบัณฑิตแนะแนว , ช้างเผือกของทหารอากาศ เป็นต้น
เมื่อนักเรียนทราบผลการทดสอบแล้วนักเรียนจะได้ทราบว่าความรู้เราอยู่ระดับใด วิชาใดที่เรายังอ่อนบ้าง นำผลการทดสอบรายวิชาไปหาแนวทางแก้ไข ด้วยการปรับแผนการเรียน เช่น อาจจะต้องไปเรียนเสริมในบางวิชาที่อ่อน เพื่อซ่อมพื้นฐานให้แน่น เพื่อไปเสริมการอ่านให้รวดเร็วขึ้นและแม่นยำหนักแน่นขึ้น หรืออาจจะต้องอ่านหนังสือหนักขึ้นกว่าเดิม
การปรับปรุงแก้ไขแผนการเรียน
หลังจากที่เราได้ทดลองแผนการเรียนไป 1 เทอม พอจะขึ้นเทอมใหม่เราต้องนำแผนการเรียนของเรามาปรับปรุง ด้วยการวิเคราะห์ 2 ส่วนสำคัญ หรือที่เรียกว่าการ SWOT ตนเอง ได้แก่
1. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งของตนเอง ในปรับเด็นต่อไปนี้
1.1 ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง การทำข้อสอบตามเวลาที่กำหนด เรามีพอหรือไม่ ถ้ายังมีไม่พอก็อภัยให้ตนเองแล้วสร้างความเชื่อมั่นที่จะต้องทำ
และปฏิบัติให้ดีต่อไป
1.2 ความรู้ที่เราอ่านมีมากน้อยเพียงใด ให้นำข้อมูลจริงมาวิเคราะห์ตนเอง เพื่อจะได้หาแนวทางปรับปรุงต่อไปให้ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
1.3 เทคนิคการเรียนของนักเรียน มีหลักการอ่าน หลักการเรียนที่ถูกต้องหรือไม่ มีการจดสรุปประเด็นที่สำคัญเป็นหรือไม่อย่างไร ถ้าเทคนิคการเรียนยังไม่สมบูรณ์จะได้แสวง
หาเทคนิคการเรียนที่เหมาะสมกับเรา
1.4 สาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่เราใช้สอบหรือใช้เรียนในห้องเรียนเรา ศึกษาครบถ้วนหรือยัง ถ้ายังไม่ครบถ้วนจะได้เสาะแสวงหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
1.5 หนังสือเอกสาร ตำรา ข้อสอบเก่า แบบฝึกหัดต่างๆ เรามีพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่มีเราก็ต้องแก้ไขด้วยการแสวงหามา
2. วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคจากสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา หรืออยู่รอบๆตัวเรา
2.1 ปัจจัยจากครอบครัว พ่อแม่ให้การสนับสนุนการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
2.2 พ่อแม่และญาติกดดันเรื่องการเรียนมากน้อยเพียงใด เป้าหมายบางอย่าง พ่อแม่และญาติชอบที่จะให้เราเป็นแต่เราอาจจะไม่ชอบ เป้าหมายเลยขัดกันซึ่งเป็นอุปสรรคต่อ
การเรียนรู้อย่างมาก
2.3 แวดล้อมเพื่อนๆ พวกเขาเหล่านั้นชักชวนไปในทางที่ดีหรือไม่ เพื่อนบางคนก็ต้องการให้เรามีชีวิตแบบเขา หรือชักชวนไปในทางที่ไม่ดี ซึ่งเป็นอุปสรรคของการเรียน
หนังสือเพื่อหาอนาคตที่ดีกว่า เพื่อนบางคนก็ชักชวนไปในทางที่ดี ชวนให้เรียนหนังสือ ดังนั้น แวดล้อมเพื่อนจึงมีความสำคัญอย่างมาก
2.4 ครู อาจารย์และนโยบายรัฐ เน้นด้านใน ถ้าเน้นในทิศทางตรงข้ามกับทางที่เราจะเดินก็จะเป็นอุปสรรคการเรียนรู้ ถ้าไปทิศเดียวกันก็จะมีโอกาสที่ดีในการเรียนรู้ โอกาสและ
อุปสรรคต่างๆเหล่านี้เราต้องนำไปวางแนวทางแก้ไขต่อไป
หลังจากที่เรานำจุดแข็ง-จุดอ่อนในตัวเราและโอกาส-อุปสรรค จากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเราและเกี่ยวข้องกับเรามาศึกษาดูความจริง แล้วนักเรียนลองมาปรับแนวทางการเรียน ปรับความต้องการตนเอง ปรับเทคนิคการเรียนรู้ ปรับแผนการเรียน แล้วเราจึงเริ่มลงมือปฏิบัติใหม่ และเริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและแวดล้อมที่เกี่ยวข้องใหม่ คติสอนในก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นความต้องการเรียนรู้ให้เราได้มากขึ้น
นักเรียนต้องสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เป็นนิสัย หมั่นลับมีให้คมหรือการลับสมองอยู่เสมอ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การรับฟังคนอื่นพูดโดยเฉพาะประเด็นที่เป็นสาระในการเรียนรู้ เราอาจจะได้เทคนิคและความรู้ใหม่ๆจากการฟังเพื่อน ฟังครู ฟังพ่อแม่หรือคนอื่นทั่วๆไป
นักเรียนต้องกำจัดวัฒนธรรม 4ข ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่อดีต ซึ่งได้แก่ ขี้โอ่ ขี้เกียจ ขี้อิจฉา และขี้โกง ถ้านักเรียนไม่สามารถสลัดจากวัฒนธรรม 4ข ได้ มันคงยากที่นักเรียนจะประสบผลสำเร็จในอนาคต
อ่านต่อ
การวางแผนการเรียนประจำวัน(ตอนที่ 2)